
Analysis Dashboard (สถิติ) คือ สถิติการใช้งานในฟีเจอร์ต่างๆ ซึ่งหน้าสถิตินี้ ประมวลผลจากกิจกรรมต่างๆ ของทางร้านที่มีกับสมาชิกของบัตรนั้นๆ พร้อมแสดงตัวเลข สามารถอ่านค่าได้จากตัวเลขและการแสดงผลแบบกราฟชนิดต่างๆ ได้
Analysis Dashboard สามารถช่วยร้านค้าของคุณได้อย่างไร?
ผู้ประกอบการสามารถใช้สถิติที่แท็บสถิติ หรือ Dashboard ในการดูผลตอบรับของสมาชิก และนำข้อมูลไปใช้งานในการวางกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมกับผลตอบรับจากลูกค้าสมาชิกของร้านของคุณได้
เราสามารถดูสถิติที่ว่านี้ได้จากตรงไหน?
ไปที่ https://merchant.loga.app ทำการเข้าสู่ระบบให้เรียบร้อย > กดแท็บ “สถิติ” (Dashboard)
ทีนี้ เรามาดูสถิติแต่ละตัวกัน
1. รายการใช้งาน (Transactions)

- สถิติแรกที่แสดงขึ้นในหน้า Dashboard คือ รายการใช้งาน (Transactions) แสดงภาพรวมของกิจกรรมตามฟีเจอร์ที่เกิดขึ้นในบัตรของร้าน โดยทางร้านค้าสามารถดูเป็นเพื่อรับทราบถึงการดำเนินกิจกรรมของสมาชิกของบัตรในภาพรวมในเดือนนนั้นๆ
- รายการใช้งานที่ปรากฏได้แก่ การถูกใจโพสต์ คอมเม้นในโพสต์ โพสต์ที่ถูกอ่าน การเผยแพร่โพสต์ จำนวนครั้งการให้แต้ม จำนวนครั้งการใช้คูปอง จำนวนครั้งการทำรายการเครดิต จำนวนรายการสั่งซื้อ และจำนวนการจอง
- สามารถเลือกระบุช่วงเวลาที่ต้องการดูได้ ดังภาพด้านล่าง

2. ลูกค้าประจำ (Regular Customers)

- การวิเคราะห์ ลูกค้าประจำ (Regular Customer) แสดงถึงอัตราการกลับมาใช้บริการของสมาชิก เป็นเส้น 2 เส้นที่สีแตกต่างกัน เพื่อแยกระยะเวลาว่าเป็นอัตราในรอบ X วัน เทียบกับ X วันที่ผ่านมา (สามารถเลือกวันที่ต้องการเปรียบเทียบได้ทางด้านบนขวา) นำมาเปรียบเทียบ เป็นการตรวจสอบสถิติเพื่อดูถึงการเจริญเติบโตของระบบสมาชิกว่า ‘กลับมาใช้บริการ‘ กี่ราย ตามจำนวนวันที่เลือกเทียบ
3. ช่วงเวลายอดนิยม (Popular Times)

- การวิเคราะห์ ช่วงเวลาที่มีการใช้งาน (Popular Times) แสดงถึงช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมใช้บัตรของสมาชิกบัตรของเรา มีประโยชน์ในการจัดโปรโมชันกระตุ้นยอดขายในช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจงเพิ่มจำนวนลูกค้า หากทางร้านต้องการเพิ่มยอดขาย เช่น อาจจะทำเป็นโปรโมชั่นแจกคูปองให้ลูกค้ามาใช้ในช่วงที่ลูกค้ามาใช้บริการน้อย (สีอ่อน) และอาจจะลดการจัดโปรโมชั่นในช่วงเวลาที่ลูกค้ามาใช้บริการเยอะอยู่แล้ว (สีเข้ม)
- เมื่อใช้เมาส์ชี้ไปที่ช่วงเวลาที่ต้องการทราบ จะแสดงรายละเอียดเป็นตัวเลขออกมา แสดงวัน ช่วงเวลา และจำนวนการดำเนินกิจกรรมของ กล่าวคือ วันเสาร์ในช่วงเวลา 10:00-11:00 น. มีการทำรายการ 3 กิจกรรม ฝ่ายการตลาดอาจจัดทำคูปองทัวไป หรือโปรโมชันอื่นๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการกันมากขึ้นตามช่วงวันเวลานี้ เพื่อเพิ่มยอดขายได้ โดยอาจระบุรายละเอียดว่าใช้ได้เฉพาะช่วงเวลา 10:00-11:00 น. และใช้ได้เฉพาะในวันศุกร์ (สามารถเลือกวันที่ให้ใช้คูปองได้ตอนสร้างคูปอง) เป็นต้น
4. จำนวนสมชิกทั้งหมด (All Members)

- การวิเคราะห์ สมาชิกทั้งหมด (All Members) แสดงจำนวนสมาชิกทั้งหมดของบัตร แสดงถึงสมาชิกที่สมัครทั้งหมด และสมาชิกที่เป็น P-Member เพื่อทราบถึงภาพรวมในเรื่องของสมาชิก ว่ามีคนมาสมัครเพิ่มมากขึ้นหรือน้อยลงมากน้อยแค่ไหน หากมีแนวโน้มน้อยลงเรื่อยๆ ทางฝ่ายการตลาดหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอาจต้องทำโปรโมชั่นหรือการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อให้บุคลลทั่วไปรู้จักร้านค้าของเราและมาเป็นลูกค้า
5. ลูกค้าที่ลงแอป (Online Members)

- การวิเคราะห์ ลูกค้าที่ลงแอป (Online Members) แสดงจำนวนของสถานะสมาชิกของบัตร ในสถานะต่างๆ ได้แก่ ลูกค้าที่ยกเลิกสมาชิกไป และลูกค้าที่พ้นสถานภาพสมาชิกหรือหมดอายุ เป็นข้อมูลให้ทราบทราบถึงภาพรวมในเรื่องของสมาชิกของบัตร พร้อมทั้งได้รู้ผลตอบรับจากการทำสมาชิกหากมีการยกเลิกไป นอกจากนี้ยังได้ทราบว่ามีคนมาสมัครเพิ่มมากขึ้นหรือน้อยลงมากน้อยแค่ไหน หากมีแนวโน้มน้อยลงเรื่อยๆ ทางฝ่ายการตลาดหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอาจต้องทำโปรโมชันหรือการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อให้บุคลลทั่วไปรู้จักร้านค้าของเรามากกว่านี้ หรือหากลยุทธิ์ต่างๆให้สมาชิกต่ออายุกับเรา หรือเพื่อให้จัดแนวทางในการจัดแคมเปญการสมัครสมาชิกต่อไปได้ เป็นต้น
6. ผลตอบรับการโพสต์ (Posts)

- การวิเคราะห์ โพสต์ (Posts) มีเพื่อดูผลตอบรับว่าว่าสารที่เราส่งไปได้รับผลตอบรับเป็นอย่างไร มีคนอ่านกี่คน ชื่นชอบกี่คน คอมเม้นท์กี่คน เป็นการ recheck ว่าสิ่งที่เราสื่อสารไปเข้าถึงลูกค้าไหม แล้วพวกเขามีผลตอบรับอย่างไร หากจำนวนถูกใจน้อย อาจจะแปลว่าข้อความนั้นยังไม่โดนใจลูกค้ามาก หากจำนวนการถูกใจมากทางผู้ประกอบการอาจประเมินได้ว่าลูกค้าสมาชิกร้านเราส่วนใหญ่มีแนวโน้มชอบคอนเทนต์ประมาณนี้ เป็นต้น
- กล่าวโดยสรุปคือ เป็นการตรวจสอบ ผลตอบรับจากการโพสต์เพื่อปรับปรุงคอนเทนต์ให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าสมาชิก เพื่อให้ข้อมูลของแบรนด์เราอยู่ในการรับรู้ของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เป็นกระแส ลูกค้านึกถึงจำได้ ทั้งนี้ ความสม่ำเสมอของการสร้างโพสต์ก็มีความสำคัญ
7. คูปองที่มีการใช้เยอะที่สุด (Top Used Coupons)

- แสดงถึง ความนิยมของคูปอง ว่าคูปองไหนได้รับการตอบรับจากลูกค้าสูงสุดโดยเรียงลำดับความนิยมสูงสุดไปต่ำสุด มีความสำคัญอย่างมากในการตรวจสอบผลตอบรับของโปรโมชั่นที่สร้าง สามารถวิเคราะห์ถึงแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคได้
- อย่างเช่น สร้างคูปองลดราคาเป็นจำนวนบาท กับลดเป็นเปอร์เซ็นต์ แล้วผลตอบรับว่าลูกค้าชอบแบบไหนมากกว่า
- หรืออย่างเช่นดังตัวอย่าง ลูกค้าอาจไม่ได้สนใจการลดราคา แต่อาจ สนใจการแจกฟรีไปเลยก็ได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ ทุก Dashboard ที่มีสัญลักษณ์ รูปเอกสาร หมายถึง สถิตินั้นสามารถ Export ออกมาเป็นไฟล์ Excel ได้ และโดยสรุปแล้ว Analysis Dashboard เป็นสถิติที่ตรวจสอบถึงการใช้งานระหว่างร้านค้ากับลูกค้าสมาชิก ซึ่งระบบของเราประมวลผลออกมาให้ทางผู้ประกอบการได้นำผลลัพท์ตรงนี้ไปวิเคราะห์ต่างๆ เพื่อทราบถึงผลตอบรับในด้านต่างๆ จากลูกค้าสมาชิก เพื่อนำปรับปรุงและพัฒนาบริการของทางร้านต่อไป

0 Comments