ฟีเจอร์ขายสินค้า (Shop) คือ ฟีเจอร์ที่ช่วยให้ร้านค้าขายสินค้าได้ผ่านแอปพลิเคชัน โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม โดยสามารถลงรายการสินค้า ใส่รูปภาพและรายละเอียดได้ สามารถแบ่งหมวดหมู่ของสินค้าได้ตามที่ร้านต้องการ เพื่อเป็น e-catalog หรือ ทำการขายสินค้า และแจ้งสถานะของสินค้าให้แก่ลูกค้าได้เลยผ่านระบบ Loga นอกจากนี้ลูกค้าก็สามารถแจ้งชำระเงิน และรับทราบสถานะการสั่งซื้อ ผ่านแอปพลิเคชันได้เลย ซึ่งปัจจุบันการซื้อสินค้าผ่านทางแอปเพิ่มมากขึ้น ลูกค้ายุคใหม่จะใช้การสั่งซื้อ ดูสินค้าผ่านทางแอป เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการสั่งซื้อสินค้า
ขายสินค้าบน Loga ต้องทำอย่างไร?

- เข้ามาที่เว็บไซต์ https://merchant.loga.app/ เข้าสู่ระบบให้เรียบร้อย
- ไปที่ “ปรับแต่งการ์ด” เลือกแท็บ “ฟีเจอร์”
- ทำเครื่องหมายถูกที่ “ร้านค้า” แล้วกดบันทึก
การตั้งค่าเพื่อขายสินค้า
เมื่อทำการเปิดใช้งานในฟีเจอร์ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ต้องมาตั้งค่าเพื่อขายสินค้าด้วย โดยการตั้งค่าเพื่อขายสินค้าแบ่งการตั้งค่าเป็น 6 ส่วนดังนี้
ไปที่เท็บ “ร้านค้า” (Shop) เลือกแท็บย่อย “ตั้งค่า” (Settings)
1. วิธีการชำระเงิน : ร้านค้าสามารถตั้งค่าได้ว่าต้องการให้ลูกค้าชำระเงินมาได้ด้วยช่องทางไหนบ้าง โดยทาง Loga รองรับช่องทางการชำระเงินได้หลายช่องทาง ได้แก่ ตัดผ่านเครดิตที่ลูกค้ามีอยู่กับทางร้าน การโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารของทางร้าน ให้ลูกค้ามาชำระเงินหน้าร้าน หรือเชื่อมต่อกับ Payment Gateway กับระบบ Loga โดยการตั้งค่าวิธีการชำระเงินของลูกค้าเพื่อสั่งซื้อออนไลน์ทางแอป จะมีให้เลือกทั้งหมด 4 วิธี ดังนี้
- Shop Credit คือ การหักเครดิตที่ลูกค้ามีอยู่ (ทางร้านต้องเปิดใช้งานฟีเจอร์เครดิตก่อนจึงสามารถตั้งค่าได้)
- Credit Card คือ การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ผ่านทางผู้ให้บริการ payment gateway Omise
- Cash คือ การชำระเงินสดกับทางร้านค้าโดยตรง
- Bank Transfer คือ การชำระเงินผ่านบัญชีธนาคารของทางร้าน ด้วยการระบุเลขบัญชี หรือ เชื่อมต่อกับ Thai QR Payment (Krungsri QR / KBank QR)
- LINEPay คือ การชำระเงินผ่านทางผู้ให้บริการ payment Gateway LINEPay Merchant (ลูกค้าต้องมีแอปพลิเคชัน LINE เพื่อใช้ในการชำระเงิน)

เมื่อมีการชำระเงินผ่านการโอนเข้าบัญชีธนาคาร หรือจ่ายเงินหน้าร้าน ทางร้านต้องมาทำการเปลี่ยนสถานะการสั่งซื้อของลูกค้าที่แท็บรายการสั่งซื้อ แต่ถ้าหากลูกค้าชำระเงินผ่านการตัดเครดิตหรือ ชำระผ่าน Payment Gateway ที่ได้ทำการเชื่อมต่อไว้ หากระบบตรวจสอบว่าการชำระเงินสำเร็จ ก็จะเปลี่ยนสถานะการสั่งซื้อเป็น Paid ให้เลย
ในกรณีที่ทางร้านค้าต้องการให้มีลูกค้าสามารถซื้อของผ่านแอปได้เลย ต้องเลือกวิธีการชำระเงินอย่างน้อย 1 วิธี หากไม่เลือกวิธีการชำระเงิน ลูกค้าจะไม่สามารถกดสั่งซื้อสินค้าได้
การตั้งค่า Payment Gateway สำหรับการสั่งซื้อสินค้าผ่าน Loga
กดที่เครื่องหมายตามวงกลมสีเขียวในภาพ หลังวิธีชำระเงินที่ต้องการตั้งค่า (ทางร้านค้าต้องสมัครบริการของ gateway นั้นๆ เรียบร้อยแล้ว)

A.) Credit card (Omise)

– ระบุข้อความที่ต้องการให้ปรากฎในเมื่อลูกค้าต้องเลือกวิธีการชำระเงิน
– ระบุ Public key ที่ได้จากการสมัคร
– ระบุ Secret key ที่ได้จากการสมัคร
เมื่อเรียบร้อยแล้วกด “Enable”
B.) LINEPay

– ระบุข้อความที่ต้องการให้ปรากฎในเมื่อลูกค้าต้องเลือกวิธีการชำระเงิน
– ระบุ Channel ID ที่ได้จากการสมัคร
– ระบุ Channel secret ที่ได้จากการสมัคร
เมื่อเรียบร้อยแล้วกด “Save”
C.) Ksher

2. ช่องทางการจัดส่ง (Shipping Options) ทางร้านค้าสามารถเลือกช่องทางการจัดส่งได้ โดยเมื่อลูกค้าทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคัชน ก็จะสามารถเลือกช่องทางจัดส่งมาได้เลย โดยมีช่องทางการจัดส่งให้เลือก 4 ช่องทาง ได้แก่ ให้ปรากฏในแอป เพื่อให้ลูกค้าเลือกได้ว่าต้องการให้ทางร้านค้าจัดส่งให้ลูกค้าโดยช่องทางไหน จะมีให้เลือก 4 ช่องทาง ได้แก่
- Self-pickup หมายถึง ให้ลูกค้ามารับสินค้าที่หน้าร้าน
- Other หมายถึง การจัดส่งโดยช่องทางอื่น หรือ ผู้จัดส่งรายอื่นนอกเหนือจากตัวเลือก
- ThaiPost-EMS หมายถึง การจัดส่งด้วยบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (Express Mail Service)
- ThaiPost-Registered Mail หมายถึง การจัดส่งด้วยบริการไปรษณีย์ลงทะเบียน

ค่าบริการ คือ ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการจัดส่งสินค้า (นอกเหนือจากราคาสินค้า) ทางร้านค้าสามารถระบุจำนวนไปในหน้าการตั้งค่านี้ได้เลย โดยจำนวนเงินที่ระบุนี้จะถูกนำไปคำนวณรวมเป็นยอดที่แจ้งว่าลูกค้าต้องชำระเป็นยอดเท่าไหร่ เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าและเลือกวิธีการจัดส่งที่ทางร้านตั้งค่าไว้ (รวมค่าขนส่งสินค้า)
3. ค่าธรรมเนียมการจัดส่งโดยตรงจากทางร้านค้า (Direct delivery fee) ฟังก์ชันนี้เหมาะสำหรับร้านค้าที่มีการจัดส่งจากทางบริษัทเองอยู่แล้ว โดยสามารถตั้งค่าให้ระบบคำนวณระยะทางการจัดส่งและแสดงราคาให้ลูกค้าได้เลยผ่านแอปพลิเคชัน ทางร้านค้าเป็นผู้ระบุเรทราคา ต่อ ระยะทางเอง และทำการตั้งค่าจุดที่ส่งสินค้าเพื่อที่ระบบจะได้คำนวณจากพื้นที่จัดส่งได้เลย สำหรับร้านค้าที่มีหลายสาขา ก็สามารถระบุพิกัดของแต่ละสาขาได้
วิธีการตั้งค่าการคำนวณราคาการจัดส่งตามระยะทาง
หน่วยระยะทางเป็น กิโลเมตร

- กด “Add distance fee”
- ระบุช่วงระยะทาง และค่าจัดส่ง
- ทำการตั้งค่าสาขา
- ดูเพิ่มเติม การตั้งค่าสาขา https://blog.loga.app/loga-branches/
4. สถานะคำสั่งซื้อ (Order Statuses) คือ สถานะรายการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า เมื่อได้รับรายการสั่งซื้อเข้ามา ทางร้านค้าจะเป็นผู้เปลี่ยนสถานะต่างๆ เพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบได้ผ่านแอปพลิเคชัน มีสถานะต่างๆ 4 สถานะ ได้แก่
- New หมายถึง รายการสั่งซื้อใหม่
- Paid หมายถึง ทางร้านได้รับ/ ตรวจสอบการชำระเงินจากลูกค้าแล้ว
- Done หมายถึง รายการสั่งซื้อถูกจัดส่งแล้ว
- Cancel หมายถึง รายการสั่งซื้อถูกยกเลิก

5. ให้แต้มอัตโนมัติ (Automatic Points Rewarding) คือ อัตราการแปลงค่าจากยอดซื้อของลูกค้าแปลงเป็นแต้มสะสมให้ลูกค้า เช่น กำหนด ยอดซื้อ 100 บาท ได้ 1 แต้ม เป็นต้น (ลูกค้าจะได้รับอัตโนมัติเมื่อสถานะการสั่งซื้อเปลี่ยนเป็น Done – โดยทางร้านค้าต้องมาปรับสถานะให้รายการสั่งซื้อ)

6. การยกเลิกรายการสั่งซื้ออัตโนมัติ (Automatic Cancel Order) คือ การตั้งค่าให้รายการสินค้าถูกยกเลิกไปเอง เมื่อไม่มีการปรับสถานะการสั่งซื้อ ภายในจำนวนวันที่กำหนด

7. การใช้แต้มเพื่อเป็นส่วนลดในการสั่งซื้อ (Use point as discount) คือ ลูกค้าสามารถนำแต้มที่สะสมไว้ มาใช้เป็นส่วนลดค่าสินค้าได้ โดยตั้งค่าาได้ว่า
- แต้มขั้นต่ำที่ลูกค้าจะใช้ลดได้ และแลกเป็นส่วนลดได้เท่าไร
- ร้อยละมากสุดที่ลดราคาได้ (เพื่อป้องกันไม่ให้ลดเกินทุน)
ตัวอย่างเช่น
สามารถให้ลูกค้าใช้แต้มสะสมลดราคาค่าสินค้าได้ โดย 10 แต้มใช้ลดราคาได้ 1 บาท หากมีแต้มทั้งหมด 10,000 แต้ม แต่ถ้าหากมีการมีจำกัดร้อยละการลดราคาไว้ที่ 25% (Maximum discount) ถ้าลูกค้าซื้อสินค้ารวมราคา 1,000 บาท ก็จะสามารถลดราคาได้สูงสุด 250 บาท เท่านั้น แม้ลูกค้าจะมีแต้มถึง 10,000 แต้ม ระบบก็จะให้ใช้แค่ 2,500 แต้มเพื่อเป็นส่วนลด 250 บาท

8. หมวดหมู่สินค้า (Product Categories) คือ การสร้างหมวดหมู่ของสินค้าที่ทางร้านค้าต้องการแบ่งกลุ่ม สามารถกำหนดได้กี่หมวดหมู่ก็ได้ และตั้งชื่อได้อย่างอิสระ กำหนดโดยการกดเพิ่มหมวดหมู่สินค้า (Add Category) โดยจะกำหนดเป็นตัวเลขและชื่อของหมวดหมู่นั้นๆ สามารถทำการแก้ไขหรือลบหมวดหมู่สินค้าได้

หากทางร้านค้าต้องการใช้ฟีเจอร์นี้เป็เครื่องมือการแสดงรายการสินค้าและบริการที่มี เป็นเหมือนสมุดเมนูที่ไว้ดูรายการสินค้าและบริการ ก็เพียงไม่ต้องเลือกวิธีการชำระเงิน เพียงเท่านี้ทางร้านค้าก็สามารถสร้างรายการ catalog online บนแอปพลิเคชันได้แล้ว

นอกจากนี้แล้ว ท่านยังสามารถดูบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีก ดังต่อไปนี้
🛍️ การเพิ่มรายการสินค้า อ่านต่อได้ที่นี่… คลิก
🛍️ การตรวจสอบรายการสั่งซื้อ อ่านต่อได้ที่นี่… คลิก
🛍️ การสั่งซื้อผ่านแอปพลิเคชัน Loga อ่านต่อได้ที่นี่… คลิก
0 Comments